เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2567 พันตรี ปวิช บูรพาชลทิศน์ รักษาการผู้อำนวยการสำนักวิชาการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เป็นผู้แทน สกมช. ในการเป็นวิทยากรบรรยายเรื่องความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศไทย และร่วมเสวนา แนวโน้มและอนาคตของกฎหมายคุคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและความมั่นคงทางไซเบอร์ในประเทศไทย ในกิจกรรม “PSU Cybersecurity and Data Privacy Days” ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จ.สงขลา โดยกิจกรรมมุ่งเน้นการป้องกันภัยไซเบอร์พร้อมทั้งการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้กับ นักเรียน นักศึกษา บุคลากรผู้ปฏิบัติงานหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งถือเป็นการเสริมสร้างการรับมือภัยคุกคามและการสร้างภูมิคุ้มกันทางไซเบอร์
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม 2567 พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เป็นประธานการประชุม Kick off โครงการเร่งรัดการพัฒนาบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Intensive Cybersecurity Capacity Building Program) ระยะที่ 2 ซึ่งดำเนินการโดย Thailand National Cyber Academy หรือ THNCA by NCSA โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะ องค์ความรู้ และขีดความสามารถของบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ให้กับ หน่วยงานควบคุมหรือกำกับดูแล (Regulator) หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ (Critical Information Infrastructure: CII) หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานเอกชน และประชาชนที่สนใจ โดยการจัดอบรมหลักสูตรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ตั้งแต่ระดับพื้นฐาน ระดับผู้เชี่ยวชาญ ระดับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านต่าง ๆ ไปจนถึงหลักสูตรในระดับผู้บริหารระดับสูงอย่าง Executive CISO ซึ่ง สกมช. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เข้าอบรมที่ผ่านการคัดเลือกมีสิทธิ์สอบใบประกาศนียบัตรอันเป็นที่ยอมรับในระดับสากล เพื่อตอบโจทย์ ความต้องการ การพัฒนาคุณภาพบุคลากรและการสร้างความตระหนักรู้ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศต่อไป
เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2567 พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พร้อมคณะ ได้ประชุมร่วมกับ ดร.พรชณิตว์ แก้วเนตร รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศและลูกค้าสัมพันธ์ พร้อมด้วยคณาจารย์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับแนวทางในการจัดทำ MOU ระหว่างกัน เพื่อสนับสนุนการจัดทำและพัฒนาหลักสูตรปริญญาตรีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และส่งเสริมการพัฒนาทักษะให้กับอาจารย์ของมหาวิทยาลัยเพื่อขยายผลความรู้ไปสู่นักศึกษา ทั้งนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบแนวทางในการฝึกปฏิบัติงานและยกระดับความสามารถของนักศึกษาร่วมกับภาคอุตสาหกรรมด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เพื่อสร้างนักไซเบอร์รุ่นใหม่สู่ตลาดแรงงานในอนาคตต่อไป
เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2567 พันตรี ปวิช บูรพาชลทิศน์ รักษาการผู้อำนวยการสำนักวิชาการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เป็นผู้แทน สกมช. ในการเป็นวิทยากรบรรยายเรื่องความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศไทย และร่วมเสวนา แนวโน้มและอนาคตของกฎหมายคุคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและความมั่นคงทางไซเบอร์ในประเทศไทย ในกิจกรรม “PSU Cybersecurity and Data Privacy Days” ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จ.สงขลา โดยกิจกรรมมุ่งเน้นการป้องกันภัยไซเบอร์พร้อมทั้งการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้กับ นักเรียน นักศึกษา บุคลากรผู้ปฏิบัติงานหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งถือเป็นการเสริมสร้างการรับมือภัยคุกคามและการสร้างภูมิคุ้มกันทางไซเบอร์
วันที่ 27 มิถุนายน 2567 สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) โดย พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ พร้อมคณะ ร่วมประชุมหารือกับ นางพวงทอง นิมิตบุญอนันต์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการและงานต่างประเทศ โรงเรียนสารสาสน์วิเทศสายไหม และ คณะผู้บริหารโรงเรียนในเครือสารสาสน์ ในการพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Train the Trainer) และแนวทางการพัฒนาจัดกิจกรรมสำหรับนักเรียนและผู้ปกครอง พร้อมทั้งส่งเสริมการจัดตั้งชมรมไซเบอร์ในโรงเรียน
สกมช. ระดมพลังพันธมิตร เสริมความรู้และทักษะให้กับเด็กและเยาวชนผ่านงาน Show and Share : Learning to Live Together เรียนรู้เพื่ออยู่ร่วมกัน สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ร่วมกับ มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และ HSBC Thailand จัดงาน Show and Share : Learning to Live Together เรียนรู้เพื่ออยู่ร่วมกัน เมื่อวันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน 2567 เวลา 09.30 – 16.00 น. ณ ห้องประชุมกรุงธนบอลรูม ชั้น 3 โรงแรมรอยัล ริเวอร์ กรุงเทพมหานคร โดยพลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ได้ขึ้นกล่าวถึงโอกาสของเด็กและเยาวชนในสายงาน Cyber Security […]
วันอังคารที่ 25 มิถุนายน 2567 เวลา 12.00-15.30 น. ณ ห้องพรไพลิน โรงแรมแมนดาริน สามย่าน กรุงเทพมหานคร สำนักวิชาการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ สกมช. ร่วมกับ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดเวทีสนทนาเชิงนโยบาย เรื่อง “นโยบายรับมือภัยการละเมิดรั่วไหลของข้อมูลและการหลอกลวงซื้อขายสินค้าทางออนไลน์” เพื่อแลกเปลี่ยนสถานการณ์และมาตรการจัดการ พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนนโยบายและมาตราการในการรับมือการละเมิดรั่วไหลของข้อมูล และการหลอกลวงซื้อขายสินค้าทางออนไลน์ โอกาสนี้ พันตำรวจเอก ณัทกฤช พรหมจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการ ได้ร่วมนำเสนอ สถานการณ์การละเมิดรั่วไหลของข้อมูล และการหลอกลวงซื้อขายสินค้าออนไลน์ พร้อมแลกเปลี่ยนและระดมความคิดเห็นทางสถานการณ์และนโยบายร่วมกับตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน อาทิ กรมกิจการเด็กและเยาวชน กรมกิจการตรีและสถาบันครอบครับ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย สภาองค์กรของผู้บริโภค สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย Line Man เป็นต้น ซึ่งภายในงานมีผู้เข้าร่วมจำนวน 20 คน
วันอังคารที่ 25 มิถุนายน 2567 สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) และ สมาคมส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยีไซเบอร์ (CIPAT) โดยมี พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ และ นายอดิศร นิลวิสุทธิ์ นายกสมาคมส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยีไซเบอร์ เป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นก้าวสำคัญร่วมกันะหว่าง สกมช. และ CIPAT ในด้านส่งเสริมการพัฒนาทักษะและตระหนักรู้ต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์จากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้แก่ทุกภาคส่วน สนับสนุนส่งเสริมการพัฒนากำลังคนด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ตลอดจนโครงการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ รวมถึงด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ เพื่อเป็นประโยชน์ร่วมกันในรูปแบบ Work integrated learning ของประเทศรวมถึงการยกระดับมาตรฐานแรงงานดิจิทัลของประเทศในอนาคตต่อไป
เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2567 สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) โดย พันตรี ปวิช บูรพาชลทิศน์ รักษาการผู้อำนวยการสำนักวิชาการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ได้ร่วมเป็นวิทยากรบรรยาย หัวข้อ”การสร้างความตระหนักรู้ในโลก Cyber ยุค AI” ในกิจกรรม AI & Cyber Security Trend งาน FIRST ONE TECH FOCUS 2024 เพื่อส่งเสริมการเตรียมพร้อมรับมือภัยคุกคามและการสร้างภูมิคุ้มกันทางไซเบอร์ในยุคที่ AI เข้ามามีบทบาทในสังคมโลกปัจจุบัน ให้กับผู้นำและผู้บริหารหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั่วประเทศ ณ จังหวัดระยอง
เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2567 พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ และ นายพิสุทธิ์ ยงค์กมล พร้อมคณะผู้บริหารในเครือโรงเรียนสารสาสน์ ร่วมหารือแนวทางความร่วมมือในการเสริมสร้างความตระหนักรู้ด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ให้กับ นักเรียน นักศึกษา และบุคลากร ในเครือโรงเรียนสารสาสน์ ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 70,000 คน จากจำนวน 50 สถาบันการศึกษา ที่กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาค และมุ่งหวังในการขยายผลไปยังกลุ่มผู้ปกครอง เพื่อเสริมแกร่งให้กับครอบครัวต่อไป
เมื่อวันอังคารที่ 18 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้ ในงาน Accelerate Asia 2024 – Thailand Edition Step Into the Platform Era ที่จัดขึ้น ณ Eastin Grand Hotel Phayathai ในหัวข้อ “Industry Keynote: Strategic Navigation of the Cybersecurity Landscape in the Platform Era” ซึ่งได้กล่าวถึงปัญหาภัยคุกคามทางไซเบอร์ในยุคแพลตฟอร์ม ภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น แผนยุทธศาสตร์สำหรับองค์กรในการป้องกันและตอบสนองต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ แนวทางการลดความเสี่ยงและการเสริมสร้างความมั่นคงของข้อมูล และแนะนำกรอบการบริหารความเสี่ยงทางไซเบอร์ NIST Cybersecurity Framework (CSF) 2.0 เพื่อใช้ในการประยุกต์สำหรับการทำงานในหน่วยงานให้กับผู้เข้าร่วมงานอีกด้วย พร้อมกันนี้ นาวาเอกหญิง ศิริเนตร […]
วันที่ 20 มิถุนายน 2567 นำโดย นายต่อพงศ์ เสลานนท์ เป็นประธานการประชุม “รู้เท่า รู้ทัน รู้ป้องกันภัยไซเบอร์” ภายใต้โครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พร้อมด้วย นาวาเอกหญิง ศิริเนตร รักษ์วงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) และ พันโท เทพจิต วีณะคุปต์ ที่ปรึกษาประจำ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดยการประชุมดังกล่าวเป็นความร่วมมือกันระหว่าง สกมช. และสำนักงาน กสทช. ที่ทำความร่วมมือด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไชเบอร์ ในการป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ในภารกิจที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไชเบอร์ พ.ศ. 2562 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ รวมถึงการสร้างความตระหนักเกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ร่วมกันเพื่อให้มีการปฏิบัติการที่มีลักษณะบูรณาการ และเป็นปัจจุบัน ตลอดจนส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินการในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ตลอดจนการดำเนินการให้ความรู้เพื่อยกระดับทักษะความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ณ […]